วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ข้าวโพดหวานแปรรูป จังหวัีดกาญจนบุรี


โครงการออกแบบส่วนบุคคล สังขยาข้าวโพด
Final Project : Steamed Custard Corn
ส.1 สืบค้น (Research)
ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะ ใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึ กระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มแถบยุโรป
ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่สำคัญมากพืชหนึ่ง ผลผลิตประมาณครึ่งหนึ่งใช้เป็นอาหารมนุษย์ นอกจาก นั้นใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์และอื่นๆ ข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดในแถบบริเวณประเทศตะวันตก และเป็นที่ นิยมบริโภคกันแถบประเทศทวีปอเมริกากลาง และใต้ สำหรับประเทศไทย ข้าวโพดเป็นที่รู้จัก และ นิยมบริโภคในรูปอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารมาช้านานแล้ว และยังมีการปลูกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยง สัตว์กันมาก จนถึงปัจจุบันข้าวโพดนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกด้วย
การจำแนกชนิดข้าวโพด
  1. ข้าวโพดไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นชนิดที่ปลูกเพื่อการส่งออกเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
  2. ข้าวโพดรับประทานฝักสด
  3. ข้าวโพดเทียน มีขนาดต้นเล็ก ฝักเล็กเรียว เมล็ดมนกลม สีเหลืองอ่อน มีรสชาตินุ่มนวลหวานอร่อย
  4. ข้าวโพดข้าวเหนียว (Glutinous Corn) จะมีฝักและเมล็ดใหญ่กว่าข้าวโพดเทียน เมล็ดสีขาว ฝักสดเมื่อต้มรับประทานจะมีลักษณะเหนียวมัน คล้ายข้าวเหนียวเพราะมีอะไมโลเปคตินมาก (อยู่ในรูปของแป้ง) เมื่อเมล็ดข้าวโพดแก่และแห้งแล้วนิยมนำไปบริโภคในรูปข้าวโพดคั่ว
  5. ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ข้าวโพดชนิดนี้ เมื่อสดจะมีรสหวานอร่อยเนื่องจากมีน้ำตาลกลูโคสมาก (อยู่ในรูปของแป้ง) เมื่อแก่ฝักจะแห้งและเมล็ดเหี่ยวย่น
  6. ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby Corn) เป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น นับตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวฝักอ่อน ใช้เวลาเพียง 60-75 วัน เท่านั้น สามารถปลูกได้ตลอดปี นิยมนำมาบรรจุกระป๋องหรือขายเป็นฝักสด
  7. ปอปคอร์น (Pop Corn) ข้าวโพดชนิดนี้มีคุณสมบัติแตกฟูได้ดี เมื่อถูกความร้อนอาจเป็นเพราะเอนโดสเปอร์มหรือส่วนเนื้อในของเมล็ดไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด (seed coat) นิยมบริโภคในรูปข้าวโพดคั่ว โดยนำเมล็ดที่แก่แห้งแล้วมาคั่วให้แตก ข้าวโพดชนิดนี้ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่น ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ โดยย่อยสลายได้ 90 % ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 mg/kg และทนทานต่อดินที่ปนเปื้อนน้ำมัน เครื่อง จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนพีเอเอชและปิโตรเลียม
สำรวจผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ข้าวโพดแปรรูป

ที่มาของภาพ : โดย น.ส.รัชนก ผลอินทร์
บรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวานทั้งชนิดเม็ด และชนิดครีมหรือซุป จะอยู่ในรูปแบบกระป๋อง เนื่องจากความ สะดวกสบายรวดเร็วในการบริโภคปรุงอาหาร อย่างไรก็ดียังมีผู้เข้าใจว่ากระป๋องเครื่องดื่มผลิตจาก สังกะสี และการบริโภคเครื่องดื่มจากกระป๋องดังกล่าว  นอกจากจะเสี่ยงอันตรายจากกระป๋องบาด แล้ว ยังอาจมีสารพิษตกค้างเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย
ที่มาของภาพ : โดย น.ส.รัชนก ผลอินทร์
บรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวานที่บรรจุลงในขวดแก้ว แก้วมีคุณภาพในการรักษาคุณภาพสินค้า ภายใน ได้ดี  มีความใสเงางาม บรรจุภัณฑ์แก้วสามารถทนแรงกดได้สูง แต่ถ้าหล่นหรือ กระเทาะก็จะแตกได้ง่าย สามารถนำกลับมาใช้ได้ตลอดอายุการใช้งานยาวนานใช้ได้หลายครั้ง และสามารถ นำมา หลอมใช้ใหม่ได้ง่าย (Recycle) สิ่งที่พึงระวังในเรื่องการบรรจุคือ จะต้องเลือกใช้ฝาขวดที่
ได้ขนาด และต้องสามารถปิดได้สนิทแน่น ไม่มีฟองอากาศเข้าได้หรือไหลหกออกมาได้ เพื่อ ช่วย รักษาคุณภาพ และอายุของสินค้าให้อยู่ได้ยาวนานมากที่สุด ตัวอย่าง บรรจุภัณฑ์จาก แก้ว ได้แก่ ถ้วยแก้ว ขวดแก้ว โหลแก้ว
บรรจุภัณฑ์แก้ว
ที่มาขอภาพ : http://www.nanapackaging.com
เป็นการนำทรายหรือที่เราเรียกว่า ซิลิกา ( SiO 2 ) มีความบริสุทธิ์ 99.5 % โซดาแอซ
( Na2Co3 ) หินปูน ( CaO ) หินฟันม้า ที่มีส่วนประกอบของ SiO 2 และ A1 2 O3 หินโดโลไมต์ ที่มีส่วนประกอบของ CaO และ MaO นำทุกอย่างมาหลอมที่อุณหภูมิ2,800 องศาเซล เซียสแล้วนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะที่ต้องการ เช่น ขวดแก้ว คนโท จานข้าว ถ้วยชาม แก้วน้ำ เป็นต้นบรรจุภัณฑ์แก้วจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท
1. แก้วโซดาไลม์ ทำมาจากโซดาไลม์ ทรายโซดาแอซ ที่ผ่านกรรมวิธีอัลคาไลส์อย่างเหมาะสม มีความทนต่อกรดและด่างสูงนิยมนำมาใช้ผลิตภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีดที่มีความเป็นกรด หรือด่าง หรือเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ เช่น บิกเกอร์ หลอดทดลอง
2. แก้วบอโรซิลิเกต ทำมาจากโบรอนไตรออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการทนท้านสูง นิยมนำมา ใช้ผลิตเป็นภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีด
3.แก้วโซดาไลม์ ที่นำมาใช้ผลิตภาชนะบรรจุยาที่ใช้สำหรับรับประทานหรือยาที่ใช้เฉพาะที่ แต่ไม่นิยมใช้เป็นภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีด4. แก้วโซดาไลม์ ที่ไม่ใช้ทำภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีด ยกเว้นยาฉีดที่ทดสอบความคงตัวแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อบรรจุในภาชนะที่ทำจากแก้วนิยมนำมา ใช้เป็นภาชนะบรรจุในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเบียร์ น้ำอัดลม อาหาร เครื่องสำอาง จาน ชาม
บรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว ฝาเกรียว






  ที่มาของภาพโดย น.ส.รัชนก ผลอินทร์

ข้อมูลขวดสำหรับบรรจุ
ชนิดของขวด แก้ว ฝาล๊อค
ขนาดปากขวด 58 มม.
บรรจุ 16 ออน หรือ 480 มล.
ราคาขวดขายปลีก 10 บาท
ราคาขวดขายส่ง 4 บาท 100ขวดขึ้นไป
Final Project : Steamed Custard Corn
ส.2 สมมติฐาน (Resume)
การสร้างกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ สังขยาข้าวโพด (Steamed Custard Corn ) บรรจุลงขวดแก้ว ที่มีฝาเกลียวอลุมิเนี่ยม สามารถปิดได้สนิทแน่น ไม่มีฟองอากาศเข้า หรือไหลหกออกมาได้ เพื่อ ช่วยรักษาคุณภาพ และอายุของสินค้าให้อยู่ได้ยาวนาน และแก้วใสเงาสามารถมองเห็นตัวสินค้า ซุปข้าวโพดที่มีความน่ารับประทาน และมีสีเหลืองสวยงาม
แรงบันดาลใจ (Inspiration)



ที่มาขอภาพ : http://j-a-m-j-a-r-s.tumblr.com/
ที่มาขอภาพ : http://ghostmyst.blogspot.com
แรงบันดาลใจ มาจากขวดแยมผลไม้ต่างๆ ที่เป็นขวดแก้วใส ปิดฝาเกลียว ที่สามารถปิด ได้สนิท และดูสวยงามด้วยสีสันของแยมสีต่างๆ นำมาปรับใช้กับสังขยาโพดที่มีสีเหลืองนวล สวย น่ารับประทาน และสามารถตกแต่งได้หลากหลาย เพิ่มมูลค่าสินค้า ด้วยต้นทุนไม่สูง ยืดอายุ สินค้าได้นาน เก็บเข้าตู้เย็นสะดวก หรือเมื่อรับประทานไม่หมดก็สามารถปิดฝา เก็บไว้ รับประทานได้นาน แต่หากเป็นกระป๋องเมื่อเปิดฝาแล้วก็ต้องรับประทานให้หมดในครั้งเดียว
ที่มาขอภาพ :  ที่มาของภาพhttp://www.thesweetestoccasion.com/2010
หรือหากต้องการเพิ่มความสะดวก ก็สามารถเพิ่มช้อนเล็กๆ สำหรับรับประทานได้เลย ติดไว้ด้านข้าง ของขวดบรรจุ เพิ่มความรวดเร็วเพื่อเข้ากับสังคมยุคใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบายและเวลา ที่ จำกัด ก็สามารถนำติดตัวไปรับประทานได้ทุกที่

การพัฒนาซุปข้าวโพด ให้เป็น สังขยาข้าวโพด
โดยมีแนวคิดมาจากซุปข้าวโพดกระป๋องทั่วๆไป ที่มีขายอยู่มากมาย นำมาพัฒนาให้เป็น
สินค้าใหม่ สังขยาข้าวโพดรับประทานกับขนมปังกระโหลก หรือขนมปังปิ้ง ก็ได้ โดยจะบรรจุ
ลงในขวดแยมแก้ว ฝาเกรียว ที่สามารถปิดฝาเก็บไว้ได้นาน เข้าตู้เย็นได้พอดี สะดวก
การทำสังขยาข้าวโพด
 ส่วนผสม
 ซุปข้าวโพด 1 กระป๋อง
 นมโคสด 1 กล่อง (300มิล.)
 ครีมนม 3 ช้อนโต๊ะ
 ไข่ไก่ 2 ฟอง
 แป้งข้าวโพด 1ช้อนโต๊ะ
 น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ
 เกลือ 1 ช้อนชา
 เนย 2 ช้อนโต๊ะ
 กลิ่นวนิลา ½ ช้อนชา
ขั้นตอนการทำ

1. เทนม ครีมนมและไข่ไก่ลงในหม้อ ตีจนเข้ากันเป็นเนื้อเนียนสวย

2. ใส่ซุปข้าวโพด ตีด้วยกระกร้อมืออีกครั้ง ค่อยๆเทแป้งตามลงไป ใส่น้ำตาล และเกลือ ตีไปเรื่อยๆจนเป็นเนื้อเดียวกัน ให้แป้งข้าวโพดละลายหมดไม่เป็นเม็ด
3. นำส่วนผสมทั้งหมด ไปปั่น ไม่ต้องละเอียดมาก พอมีเนื้อข้าวโพดนิดหน่อย
4. นำหม้อขึ้นตั้งไฟ ใช้ตะกร้อมือคนไปเรื่อยๆ โดยใช้ไฟอ่อน ระวังอย่าให้ไหม้ก้นหม้อ ประมาณ 8 - 10 นาที
5. เมื่อส่วนผสมเข้ากันได้ที่แล้ว ใส่เนยจืดตามลงไป คนไปเรื่อยๆจนเนยละลายหมด ปิดไฟ
6. ใส่กลิ่นวนิลาคนจนเข้ากัน ยกลง เสร็จเรียบร้อย รับประทานกับขนมปัง หรือขนมปังปิ้งก็ได้





สรุปผลการ ทำสังขยาข้าวโพด
จากการนำซุปข้าวโพดมาทำเป็นสังขยา ได้รสชาติที่ หอม อร่อยอยู๋แล้วของซุปข้าวโพด
เมื่อเพิ่ม ไข่ นม และเนย เข้าไป จึงทำให้มีรสชาติดียิ่งขึ้น บวกกับกลิ่นวนิลาอ่อนๆ ที่ให้ความเป็นธรรมชาติ น่ารับประทาน รสชาติอร่อยมากๆ บรรจุลงในขวดดแยมแก้ว เก็บเข้าตู้เย็น ไว้รับประทาน
ปัญหาที่พบ
1. ในซุปข้าวโพด เมล็ดข้าวโพดยังเป็นเม็ดอยู่ เมื่อทำสังขยาออกมา จึงมีเนื้อไม่เนียนสวยจึงแก้่ปัญหาด้วยการ นำส่วนผสมทั้งหมดไปปั่นก่อน แต่ไม่ละเอียดมากนัก เพื่อยังคงเนื้อข้าวโพดไว้บ้าง เวลารับประทาน
2. เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยร้อย สีของสังขยาข้าวโพด มีสีจืด ไม่เป็นสีเหลืองสวย สีค่อนข้างข้าวแก้ปัญหาโดยการ ใส่สีผสมอาหาร สีเหลืองลงไปเล็กน้อย จึงได้สีที่พอดีเป็นธรรมชาติ 
3. รสชาติของสังขยาข้าวโพด มีรสชาติมัน หวานน้อยเกินไป
4. เมื่อทำเองที่บ้าน ก็สามารถเก็บไว้ได้ เพียง 5-6 วัน เท่านั้น อาจต้องมีการพาสเจอร์ไรส์(Pasteurization) หรือผสมสารกันเสีย ชนิดโซเดียมเบนโซเอท (Sodium Benzoate) ที่ใช้ผสมใน แยม หรือผลไม้กวน เนื่องจากหาซื้อไม่ได้ และอาจมีอันตราย จึงไม่ได้ใส่เข้าไป
แบบร่าง ตราสัญลักษณ์
ซุปข้าวโพด Freshy Corn